ผ่า กลยุทธการตลาดผ่าน 4 แพลทฟอร์ม FACEBOOK, SNAPCHAT, TWITTER และ PANDORA
เมื่อการสื่อสารแบบเดิมๆ เริ่มจะไปไม่ถึงกลุ่มคนยุคใหม่ เหล่าผู้บริหารของ Facebook, Snapchat, Twitter และ Pandora ได้นำเสนอ 4 กลุยทธสำคัญในยุคนี้ สำหรับการทำการตลาดผ่านโซลเชียลเน็ตเวิร์ก
ที่งาน Mobile Day ในนิวยอร์กเมื่อเร็วๆ นี้ ผู้บริหารจาก 4 โซลเชียลเน็ตเวิร์กสุดฮิตแห่งยุค ได้แสดงความเห็นถึงการทำโฆษณาผ่านสื่อโซเชียลเน็ตเวิร์กไปถึงกลุ่มเป้าหมายอายุ 18 - 34 ปี ที่ตามข้อมูลระบุว่าเริ่มจะ “เมิน” สื่อกระแสหลักมากขึ้นเรื่อยๆ ว่าทั้งแบรนด์ และเจ้าของเครือข่ายไม่สามารถเพียงแค่วิเคราะห์ว่าคนรุ่นนี้ “ตื่นเต้น” กับโฆษณาแบบไหนได้อีกต่อไปแล้ว แต่ต้องเรียนรู้พฤติกรรมการใช้ชีวิตในโลกดิจิตอลของพวกเขา และเพื่อวางแผนการตลาดไปตามพฤติกรรมเหล่านี้นั้นยิ่งไปกว่านั้น เทรเวอร์ จอห์นสัน ผู้อำนวยการฝ่ายเอเยนซีของ Facebook ยังมองว่าพฤติกรรมของกลุ่มคนยุค “2000s” ไม่ได้เป็นแค่พฤติกรรม “เฉพาะกลุ่ม” แต่กำลังจะเป็น “แนวโน้ม” ของโลกในอนาคตต่อไปด้วย
Snapchat ... “ความใกล้ตัว” คือปัจจัยสำคัญ
สตีฟ ฮวาง ผู้อำนวยการฝ่ายแผนการ และปฏิบัติการแห่ง Snapchat แอพที่ให้ผู้ใช้สามารถแชทกับเพื่อนๆ ด้วยรูปภาพหรือภาพถ่าย เชื่อว่าแบรนด์ต้องพยายามทำอะไรให้ “ใกล้ตัว” กับกลุ่มเป้าหมายโดยเฉพาะคนยุค “2000s” ให้มากที่สุดโดยผู้ใช่ Snapchat ส่วนใหญ่ก็คือกลุ่มที่มีอายุประมาณ 18 – 24 ปี ซึ่งถือเป็นกลุ่มคนไม่ค่อยชอบการโฆษณา และแผนการตลาดแบบโต่งๆ อยู่แล้ว คนกลุ่มนี้มักจะสบายใจกับการดูคลิป และภาพของเพื่อนๆ มากกว่า ซึ่ง Snapchat ก็สามารถตอบโจทย์ข้อนี้ได้อย่างตรงๆ ด้วยการนำเสนอโฆษณาไปกับภาพ และคลิปส่วนตัวของผู้ใช้ได้อย่างแนบเนียน
Facebook ... เตะตาให้ได้ในเวลา 3 วินาที
Facebook ประสบความสำเร็จไม่น้อยกับการเพิ่มแอดโฆษณาในรูปแบบวิดีโอซึ่งตั้งค่าให้เล่นอัตโนมัติผ่านทุกระบบเครือข่ายสัญญาณ บนหน้า News Feed โดยจะเล่นแค่วิดีโอแต่ไม่มีเสียง หากต้องการฟังเสียงก็เพียงแค่คลิกเพื่อชมวิดีโอแบบเต็มจอพร้อมเสียงได้เองซึ่ง เทรเวอร์ จอห์นสัน แห่งของ Facebook ก็มองว่าคลิปสั้นๆ ความยาวไม่กี่วินาทีสามารถให้ข้อมูลกับลูกค้าได้อย่างรวดเร็ว และดูง่ายๆ แต่แบรนด์ก็ต้องเรียกร้องความสนใจจากผู้ชมให้ได้ภายในระยะเวลา 3 วินาทีด้วย เพื่อให้ผู้ใช้หยุดดูคลิปอีก 5 หรือ 10 วินาที และถ้าโฆษณาได้ผลจริงๆ เขาก็อาจจะคลิ๊กเพื่อชมคลิปต่ออีก 10 นาทีก็ได้คลิปวิดีโอเป็นวิธีที่เหมาะสมกับคนรุ่น “2000s” มากที่สุดอยู่แล้ว เพราะคนรุ่นใหม่อยากจะได้ข้อมูลเร็วๆ แบบไม่ต้องใช้ความพยายามในการรับข้อมูลอะไรมากมาย ซึ่งคลิปสั้นๆ ความยาวไม่กี่วินาที และปราศจากเสียง ก็ดูจะกระตุ้นความสงสัยไคร้รู้ของกลุ่มเป้าหมายได้ดี
Twitter ... เซเล็บออนไลน์
แน่นอนว่า “เซเล็ป” ยังเป็นองค์ประกอบสำคัญสำหรับการทำการตลาด แต่ในมุมมองของ สเตฟานี เพรเกอร์ แห่ง Twitter กลับมองว่านิยามของ “เซเล็ป” ในวันนี้ไม่เหมือนเมื่อก่อนอีกแล้ว เพราะตอนนี้ไม่ใช่แค่ ดาราดัง หรือนักร้องซูเปอร์สตาร์เท่านั้นที่เป็นเซเล็ป แต่คน “ธรรมดาๆ” คนหนึ่ง ที่มีจุดเด่นส่วนตัวบางอย่าง อาจกลายเป็นคนดังในช่วงข้ามคืน จนมีคนตาม Twitter หรือ Facebook เป็นแสนเป็นล้านอย่างเหลือเชื่อ และกลายเป็นผู้ทรงอิทธิพลของโลกออนไลน์ ซึ่งแน่นอนว่าสามารถช่วยแบรนด์ในการทำประชาสัมพันธ์ได้เพรเกอร์ ยังมองว่าปัจจุบัน “เซเล็ปออนไลน์” เริ่มจะทรงอิทธิพลมากกว่าเซเล็ปกระแสหลักแบบเดิมๆ แล้วทาง Twitter ก็ทราบดีถึงเรื่องนี้ จึงมีการเปิดตัวแอพ Periscope สำหรับถ่ายทอดสดทั้งภาพวิดีโอและเสียงเพื่อรองรับเหล่าคนดังในโลกออนไลน์ พร้อมซื้อบริษัทเอเยนซี Niche เอาไว้แล้วด้วย
Pandora … คิดสร้างสรรค์ จากฐานข้อมูล
ด้านบริการสตรีมมิ่งเพลงในรูปแบบวิทยุ Pandora ก็เสนอว่าการออกแบบสินค้าทางออนไลน์ ตลอดจนการออกแบบแผนการตลาด ควรจะเป็นการสร้างสรรค์ที่ผ่านการประเมินจากข้อมูลอย่างละเอียดก่อน ทามาราเบดโดรเชียน แห่ง Pandora ได้ยกตัวอย่างว่ากลุ่มผู้หญิงอายุ 18 – 24 ปี ที่ใช้บริการของ Pandora มักจะชอบฟังผลงานของนักไวโอลิน ลินด์เซย์ สเตอร์ลิง ที่ดังมาจาก YouTube กันมาก แต่กลายเป็นว่า 80% ของคนที่ฟังผลงานของ สเตอร์ลิง กลับเลือกฟังเพลงของเธอผ่านแอพทางโทรศัพท์มือถือเพียงอย่างเดียวเท่านัน้ แต่กลับไม่ได้ติดตามฟังทางช่องทางอื่นเลย ซึ่ง เบดโดรเชียน มองว่าข้อมูลลักษณะนี้สามารถช่วยในการวางแผนการตลาดได้เป็นอย่างดี
……………………
สรุปแล้วทั้ง 4 กลยุทธล้วนมีจุดรวมเหมือนกันอยู่หนึ่งประการนั่นก็คือการ “ทำการตลาด” เหมือน “ไม่ได้ทำการตลาด” นั่นเอง
โดยพื้นฐานแล้วคนยุคนี้ไม่ชอบให้ใครมาเสนอขายอะไร และไว้ใจ ตลอดจนตอบรับสื่อที่ค่อนข้างมีความเป็นส่วนตัวมากกว่า นักการตลาดจึงต้องพยายามหาวิธีสร้างสรรค์ใหม่ๆ ในการให้ข้อมูลกับกลุ่มเป้าหมาย ผ่านช่องทางการสื่อสารในชีวิตประจำวัน แบบ Snapchat, Facebook หรือ Twitter ที่เปิดโอกาสให้ผู้ใช้สื่อสารกันเองมากขึ้นเรื่อยๆ
ที่มา : http://kingkong.com.au
http://www.adweek.com
ตืดตามความเคลื่อนไหวทางการตลาด
www.nederman.co.th
083-9881563
33674 600 # 4651