เทคโนโลยีสมัยใหม่
การพัฒนาเทคโนโลยีสมัยใหม่ ก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว ผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงภายใต้บริบท ที่เชื่อมโยงต่อเนื่องกัน ในลักษณะ เศรษฐศาสตร์เครือข่าย หรือที่เรียกว่า ( networked economy) มีการเปลี่ยนแปลง เคลื่อนย้ายอย่างรวดเร็ว (เพียงแค่กดเม้าส์ของคอมพิวเตอร์) เสมือนดังไม่มีพรมแดนของประเทศ ปรับเปลี่ยนโครงสร้างความสัมพันธ์ ทาง เศรษฐกิจ การเมือง สังคม ระหว่างประเทศ การพัฒนาเทคโนโลยีสื่อสารและสารสนเทศ ส่งผลให้โลกมีสภาพ เหมือนเป็นหนึ่งเดียว มีการแข่งขันสูงผลกระทบในวงกว้าง ( systemic and dynamism ) ต่อผู้ผลิต ผู้บริโภค อย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน และนั่นเป็นจุดเริ่มต้นของกระบวนที่ทำไห้ทรัพยากรมนุษย์เกิดการปรับตัวพัฒนาให้เป็นทรัพยากรมนุษย์ที่อยู่ในโลกเศรษฐกิจใหม่ของสังคมอุดมปัญญา (Knowledge Based Economy) กลายเป็นศัพท์ที่ต้องคิด ของคนใน สหัสวรรษที่ 21
เทคโนโลยีได้เข้าไปมีบทบาทต่อวิถีชีวิตผู้คนและสังคมในรูปแบบต่าง ๆ กล่าวคือ
1. ด้านการศึกษา
มีการนำเอาคอมพิวเตอร์มาช่วยสอน (CAI) โดยทำเป็นสื่อประสม (Multimedia) มีระบบการเรียนการสอนทางไกล (Tele-Education) มีห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์เพิ่มมากขึ้น นักเรียน นักศึกษา ได้มีโอกาสเรียนรู้และปฏิบัติจริงได้มากขึ้น สำหรับโรงเรียนมัธยม ก็มีการจัดการเรียนการสอนด้านคอมพิวเตอร์ โดยกำหนดให้เป็นรายวิชาเลือก ในระดับวิทยาลัย และ มหาวิทยาลัย มีเปิดสอนสาขาคอมพิวเตอร์ศึกษา วิทยาการคอมพิวเตอร์ วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีสารสนเทศโดยเฉพาะ เพื่อผลิตบุคลากร สนองความต้องการของตลาด ในยุคปัจจุบัน
2. ด้านการแพทย์
เริ่มตั้งแต่การจัดทำประวัติคนไข้ ไปจนถึงการออกใบเสร็จรับเงิน การพิมพ์ฉลากยา ก็ยังใช้ระบบคอมพิวเตอร์ โดยจะพิมพ์ใส่กระดาษกาวไว้ก่อน เมื่อจะส่งให้คนไข้ก็ติดที่ขวดหรือถุงยา จะได้ไม่ผิดพลาดในการให้ยาตรงตามแพทย์สั่ง บางแห่งให้แพทย์สั่งยาผ่านระบบคอมพิวเตอร์ เพื่อลดความผิดพลาดในการตีความหมายจากลายมือของแพทย์ นอกจากนี้บางแห่งยังมีการรักษาทางไกลโดยผ่านดาวเทียมสื่อสารความเร็วสูง ที่แพทย์ต่างประเทศ สามารถมองเห็นคนไข้ ในประเทศไทย และให้คำแนะนำ ในการรักษาผ่าตัดทันที แต่ไม่เป็นที่นิยม เพราะต้องใช้เงินลงทุนสูงมาก
มีการให้บริการฝาก-ถอนเงิน โอนเงิน ซึ่งมีมานานแล้ว และในปัจจุบันนี้เริ่มมีระบบ e-banking โดยสามารถใช้โทรศัพท์มาทำรายการที่ธนาคารได้ ไม่ต้องเสียเวลาในการเดินทางมาที่ธนาคาร นอกจากนี้ ให้บริการบัตรเครดิต อีกหลากหลายประเภท ซึ่งสามารถถอนเงินที่ตู้ ATM ที่ใดก็ได้ แม้ในต่างประเทศ ก็สามารถถอนเงินได้ ไม่ต้องพกเงินจำนวนมาก ไปเที่ยวต่างประเทศ ในอนาคตอันใกล้นี้จะมีธนาคารบางแห่ง
ที่ผู้ถือหุ้นใหญ่เป็นชาวประเทศ จะนำเอาระบบธนาคารอิเล็กทรอนิสก์ มาใช้เต็มรูปแบบโดยให้บริการฝาก-ถอน-โอนเงินด้วยระบบคอมพิวเตอร์ทั้งหมด ซึ่งในต่างประเทศได้มีใช้กันมานานแล้ว
4. ด้านห้องสมุด
การให้บริการยืม-คืนผ่านระบบคอมพิวเตอร์ จะเป็นลักษณะที่ต้องยืมผ่านเจ้าหน้าที่บรรณารักษ์ ซึ่งจะป้อนข้อมูลการยืม เข้าไป หรือใช้เครื่องอ่านรหัสแท่ง (Bar code) และเมื่อคืนหนังสือก็ต้องผ่านเจ้าหน้าที่บรรณารักษ์เช่นเดิม หลายแห่ง เปลี่ยนมาใช้การฝังแถบแม่เหล็กเข้าไปในหนังสือ และมีเครื่องตรวจจับหนังสือที่ถูกนำออกห้องสมุดโดยที่ยังไม่ถูกยืม เพื่อป้องกัน หนังสือสูญหาย สำหรับในต่างประเทศ เช่น ประเทศออสเตรเลีย ห้องสมุดบางแห่ง ให้บริการยืมหนังสือ ผ่านเครื่อง ยืมหนังสือ คือผู้ยืมสามารถสืบค้นหนังสือได้ทั้งในสถาบันและนอกสถาบัน เมื่อรู้ตำแหน่งที่เก็บหนังสือแล้วไปนำหนังสือ ผ่านเครื่องยืมหนังสือ เวลาคืนก็นำมาใส่ในตู้รับหนังสือ จะมีเจ้าหน้าที่นำไปเข้าเครื่องอ่านแถบแม่เหล็กที่ฝังอยู่ในหนังสือ มีการ ให้บริการสืบค้นข้อมูลบน CD-ROM บนระบบ Internet ห้องสมุดหลายแห่งได้ลงทุน ของเช่าฐานข้อมูลที่สำคัญ เพื่อเอื้อประโยชน์แก่ผู้ใช้บริการ ห้องสมุด โลกปัจจุบันนี้ "ข้อมูลขายได้" ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสารสนเทศจึงทำให้เกิด ห้องสมุดเสมือนจริง Visual Library และยังมีพิพิธภัณฑ์เสมือนจริง Visual Museum ทำให้ภาพของจริงในทุกมุมมอง โดยไม่ต้องจับต้องของจริง
5. ด้านการรถไฟแห่งประเทศไทย
แต่เดิมจะไม่สะดวกกับผู้ซื้อเพราะซื้อตั๋วที่ไหนจะต้องขึ้นรถไฟที่นั่น แต่ในปัจจุบันมีบริการซื้อตั๋วด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ทำให้สามารถจะซื้อตั๋วที่สถานีใดก็ได้ กำหนดสถานีต้นปลายทาง ปลายทางได้อย่างอิสระ สามารถซื้อตั๋วล่วงหน้าได้มากกว่าเดิม และมีบริการเสริมขึ้นมากมาย เช่น สามารถคืนตั๋วก่อนออกเดินทางที่สถานีใดก็ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการตรวจสอบที่นั่ง ว่าว่างหรือไม่ว่าง ทำได้ทันที ทำให้ไม่เกิดการซื้อตั๋วซ้อนกัน ช่วยลดความผิดพลาดได้มาก และเพิ่มความสะดวก รวดเร็ว ในการให้บริการ
6. ด้านธุรกิจ
บริษัท ห้างร้านส่วนใหญ่ต้องการบุคลากรที่มีความรู้ด้านคอมพิวเตอร์ทั่วไป ระดับผู้ใช้งานโปรแกรม (Users) ซึ่งจะต้องใช้โปรแกรมที่มีใช้ในสำนักงานได้ เช่น โปรแกรมพิมพ์เอกสาร
(Word Processor) โปรแกรมตารางการทำงาน (Speedsheet) โปรแกรมนำเสนองาน (Presentation) และโปรแกรมสนับสนุนอื่นๆ บางแห่งต้องการเฉพาะทางเช่น นักเขียนโปรแกรม (Programmer) นักวิเคราะห์ระบบ (System Analysis) นักควบคุมระบบ (Administrator) นักคอมพิวเตอร์กราฟฟิค (Computer Graphic) เป็นต้น
จากที่ได้กล่าวมาทั้งหมดตั้งแต่ต้น คงพอสรุปได้ว่าเทคโนโลยีสาระสนเทศ มีความสำคัญทั้งในปัจจุบันและอนาคตข้างหน้า เทคโนโลยีสารสนเทศได้กระจายองค์ความรู้ไปทุกพื้นที่ในโลก ขึ้นอยู่กับใครสามารถเข้าถึงข้อมูลเร็วกว่าหาข้อมูลได้มากว่ากัน นอกเนื้อจากนั้น จะต้องสามารถเลือกและวิเคราะห์ข้อมูล ที่จะนำมาปรับใช้เป็นองค์ความรู้ สังเคราะห์เพื่อตัดสินใจแก้ปัญหาจนเกิดเป็นปัญญาที่ สะสมไว้ในตัวคน และถ้าทุกคนมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกันก็จะสามารถเป็นสังคมอุดมปัญญาในองค์กร เพื่อแก้ปัญหา และตัดสินใจได้เร็วขึ้น เป็นจุดที่สำคัญที่จะทำให้คนและองค์กรนั้นๆเก่งกว่ากัน หรือเหนือกว่ากัน หรือช่วงชิงในทุกๆเรื่องได้ก่อนใคร
แหล่งอ้างอิง
“เทคโนโลยีสารสนเทศกับสังคมยุคดิจิตอลและยุคปัญญาเลิศ.” [online]. เข้าถึงได้จาก http://pibu12.
psru.ac.th/~somman/work1.doc. (2551, พฤศจิกายน 20)
สาคร แสงผึ้ง. เทคโนโลยีสารสนเทศในโรงเรียนที่ควรจะเป็น [online]. เข้าถึงได้จาก: http://www.
nitesonline.net/warasan/13_sakorn.doc. (2551, พฤศจิกายน 20)
ดูดฝุ่นอุตสาหกรรม,ดูดฝุ่นในโรงงาน,ระบบบำบัดอากาศ,Dust
collector,ระบบท่อดูดอากาศ ,ถุงกรองฝุ่น
, mobile filter, oil mist, ไส้กรองฝุ่น,แขนดูดควัน,ท่อลำเลียงฝุ่น,เครื่องดูดควันท่อไอเสีย,เครื่องดูดควันเชื่อม,
เครื่องดูดสารเคมี,เครื่องพ่นทราย,high
vacuum,ระบบกำจัดไอน้ำมัน,ระบบกำจัดฝุ่น,
ระบบกรองฝุ่น,ระบบกำจัดกลิ่น
Sale
dept.
Tel 033-674 600 # 4651
Mobile 083-9881563
TW: NedermanTH
Google+
: NedermanTH
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น