วันพุธที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2558



แนวทางการดำเนินการส่งเสริมการลงทุนระยะ 7 ปี (พ.ศ.2558-2564)


1.ยกเลิกการส่งเสริมที่อิงกับเขตพื้นที่ (Zoning) แต่ยังคงให้สิทธิประโยชน์พิเศษกับจังหวัดที่มีรายได้ต่อหัวต่ำ

2.ส่งเสริมให้เกิดคลัสเตอร์ใหม่ในภูมิภาคหรือส่วนของพื้นที่ชายแดนเพื่อสร้างการลงทุนที่สอดคล้องกับ
ศักยภาพของพื้นที่ และสร้างความเข้มแข็งให้กับ Value Chain ภาคอุตสาหกรรม

3.เน้นอำนวยความสะดวกผ่านทางสิทธิประโยชน์ Non-tax และบริการที่ครบวงจร

4.ปรับปรุงกฏระเบียบ ลดอุปสรรคในการลงทุนเพื่อสร้างบรรยากาศการลงทุนที่ดี

5.ส่งเสริมและประสานงานเพื่อพัฒนาบุคลากรรองรับภาคอุตสาหกรรม

6.บูรณาการเครื่องมือสนับสนุนของหน่วยงานต่างๆในลักษณะPackage

7..ให้ความสำคัญกับการส่งเสริมการลงทุนไทยในต่างประเทศมากขึ้นเพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจไทย

8.กำหนด KPI ขององค์กรให้ชัดเจน เพื่อให้สามารถวัดผลประโยชน์และความคุ้มค่าของการส่งเสริมการลงทุนได้



   More information please contact us www.nederman.co.th
Sale dept.
Tel          033-674 600 # 4651
Mobile   083-9881563
FB :      www.facebook.com/จำหน่ายระบบบำบัดอากาศฝุ่น - ควันในโรงงาน
TW:      NedermanTH
Google+ : NedermanTH

วันอังคารที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2558



กลุ่มธุรกิจ 4 กลุ่มหลักที่จะส่งเสริมการลงทุนตามยุทธศาสตร์ใหม่

1.โครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นสำหรับการพัฒนาอุตสาหกรรม
    เช่น อุตสาหกรรม โลจิสติกส์ พลังงานทดแทน พลังงานพื้นฐาน เครื่องจักร เครื่องมือทางวิทยาศาสตร์  ธุรกิจดิจิทัล ,R&D, Engineering Design, สถานฝึกฝนวิชาชีพ บริการทดสอบทางวิทยาศาสตร์/สอบเทียบมาตรฐาน บริการด้านสิ่งแวดล้อม เป็นต้น

2.เทคโนโลยีพื้นฐานขั้นสูงที่จะช่วยยกระดับอุตสาหกรรมไทย เช่น Biotech,Nanotech,Advance Materails เป็นต้น

3.อุตสาหกรรมที่พัฒนาจากทรัพยากรในประเทศ เช่น อุตสาหกรรมเกษตร เชื้อเพลิงชีวภาพ เหมือนแร่
อุตสาหกรรมเชิงสร้างสรรค์ ธุรกิจสนับสนุนการท่องเที่ยว เป็นต้น

4.อุตสาหกรรมที่ไทยมีความสามารถเป็นฐานการผลิตหลักของภูมิภาค/โลก เช่น ยานยนต์และชิ้นส่วน
เครื่องใช้ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์เป็นต้น

More information please contact us www.nederman.co.th
Sale dept.
Tel          033-674 600 # 4651
Mobile   083-9881563
FB :      www.facebook.com/จำหน่ายระบบบำบัดอากาศฝุ่น - ควันในโรงงาน
TW:      NedermanTH

Google+ : NedermanTH

วันอาทิตย์ที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2558



หลักเกณฑ์การให้สิทธิประโยชน์ทางภาษี

1.สิทธิประโยชน์ตามประเภทกิจการ
  กำหนดสิทธิประโยชน์ตามลำดับความสำคัญของประเภทกิจการ

2.สิทธิประโยชน์เพิ่มเติมตามคุณค่าของโครงการ
 กำหนดสิทธิประโยชน์เพิ่มเติมเพื่อจูงใจและกระตุ้นให้มีการลงทุนหรือใช้จ่ายตามกิจกรรมที่จะเป็นประโยชน์ต่อประเทศหรืออุตสาหกรรมโดยรวมมากขึ้น

2.1 Merit เพื่อพัฒนาความสามารถในการแข่งขัน   ให้นับรวมเงินลงทุนหรือค่าใช้จ่ายต่อไปนี้
2.1.1 ค่า R&D  ทั้งทำเองและว่าจ้างผู้อื่นในประเทศ หรือร่วมวิจัยกับองค์กรต่างประเทศ
2.1.2 การสนับสนุนกองทุนพัฒนาเทคโนโลยีและบุคลากร สถาบันการศึกษา ศูนย์ฝึกอบรมเฉพาะทาง สถาบันวิจัย หน่วยงานรัฐ ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีตามที่คณะกรรมการเห็นชอบ
2.1.3 ค่าธรรมเนียมการใช้สิทธิเทคโนโลยีที่พัฒนาจากแหล่งในประเทศ
2.1.4 การฝึกอบรมด้านเทคโนโลยีขั้นสูง
2.1.5 การพัฒนา Local Supplier ที่มีหุ้นไทยไม่น้อยกว่า 51% ในการอบรมเทคโนโลยีขั้นสูงและการให้ความช่วยเหลือทางเทคนิค
2.1.6 การออกแบบผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ ทั้งทำเองหรือว่าจ้างผู้อื่นในประเทศตามที่คณะกรรมการเห็บชอบ

2.2 เพื่อกระจายความเจริญสู่ภูมิภาค
2.2.1 ตั้งสถานประกอบการในพื้นที่ที่มีรายได้ต่อหัวต่ำที่สุดของประเทศ จำนวน 20 จังหวัด
2.2.2 ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเพิ่ม 3 ปี หากเป็นกิจการในกลุ่ม A1 และ A2 ซึ่งได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ 8 ปีอยู่แล้ว จะให้ได้รับการลดหย่่อนภาษีเงินได้ 50% เพิ่มอีก 3 ปี
2.2.3ได้รับสิทธิหักค่าขนส่ง ค่าไฟฟ้า ค่าประปาได้ 2 เท่า


More information please contact us www.nederman.co.th
Sale dept.
Tel       033-674 600 # 4651
Mobile   083-9881563
FB :      www.facebook.com/จำหน่ายระบบบำบัดอากาศฝุ่น - ควันในโรงงาน
TW:      NedermanTH

Google+ : NedermanTH


วันพุธที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2558



วิสัยทัศน์การส่งเสริมการลงทุนในระยะ 7 ปี จากสมาคมอุตสาหกรรมหล่อโลหะไทย



    นโยบายส่งเสริมการลงทุนของภาครัฐ ในระยะเวลา 7 ปีนับจากปี พ.ศ.2558 เน้นส่งเสริมการลงทุนที่มีคุณค่า ทั้งในประเทศและการลงทุนของคนไทยในต่างประเทศ เพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน ก้าวพ้นการเป็นประเทศที่มีรายได้ระดับกลาง (Middle Income Trap) และเติบโตอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

นโยบายดังกล่าว ดำเนินการดังต่อไปนี้
1. ส่งเสริมการลงทุนเพื่อพัฒนาความสามารถในการแข่งขันของประเทศ โดยการส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาการสร้างนวัตกรรม การสร้างมูลค่าเพิ่มของภาคเกษตร ภาคอุตสาหกรรม และภาคบริการ ส่งเสริมรัฐวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ตลอดจนส่งเสริมการแข่งขันที่เป็นธรรม การลดความเหลื่อมล้ำทางเศราษฐกิจและสังคม

2.ส่งเสริมกิจการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และมีการประหยัดพลังงานหรือใช้พลังงานทดแทนเพื่อการเติบโตอย่างสมดุลและยั่งยืน

3.ส่งเสริมให้เกิดการรวมกลุ่มของการลงทุน (Cluster)  ที่สอดคล้องกับศักยภาพของพื้นที่และสร้างความแข็งแรงของห่วงโซ่มูลค่า

4.ส่งเสริมการลงทุนในเขตพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อเสริมสร้างเศรษฐกิจท้องถิ่นที่เกื้อกูลต่อการสร้างความมั่นคงในพื้นที่

5.ส่งเสริมการลงทุนของไทยในต่างประเทศ เพื่อพัฒนาความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจไทย และเพิ่มบทบาทของประเทศไทยในเวทีโลก



More information please contact us www.nederman.co.th
Sale dept.
Tel       033-674 600 # 4651
Mobile   083-9881563
FB :      www.facebook.com/จำหน่ายระบบบำบัดอากาศฝุ่น - ควันในโรงงาน
TW:      NedermanTH
Google+ : NedermanTH






วันจันทร์ที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2558




การวัดค่าความสะอาดของน้ำมันหล่อลื่น  โดยการนับจำนวนอนุภาคที่ปะปนอยู่ในน้ำมัน 
 NAS 1638  (National Aerospace Standard)
  1. ระบบ NAS จะแบ่งขนาดของอนุภาคออกเป็น 5 ช่วง คือ  5-15 ไมครอน, 15-25 ไมครอน, 25-50 ไมครอน, 50-100  ไมครอน และ มากกว่า 100 ไมครอน 
  2. ระบบ NAS จะทำการนับจำนวนอนุภาค ในแต่ละช่วงขนาด  จากน้ำมันตัวอย่าง 100 มิลลิลิตร  เพื่อนำไปเปรียบเทียบกับตารางมาตรฐานของ NAS 1638 ว่าความสะอาดอยู่ในระดับใด 
  3. ปกติค่า NAS ที่อ่านได้ จะเท่ากันหรือใกล้เคียงกันไม่ว่าจะทำการนับขนาดอนุภาคที่ช่วงไหน  หากแตกต่างกันให้ยึดค่าที่มากสุดเป็นเกณฑ์
 NAS 1638
ตัวอย่างเช่น  ทำการนับจำนวนอนุภาคในน้ำมันตัวอย่าง 100 มิลลิลิตร แล้วอ่านจำนวนได้ตามตารางข้างล่างนี้ ระดับความสะอาดของน้ำมันคือ NAS 8
Particle count NAS

ISO 4406 (International Particle count Standards) 
  1.  ISO 4406 จะแบ่งขนาดของอนุภาคเป็นสามช่วงคือ  ขนาดที่มากกว่า  4 ไมครอน, มากกว่า 6 ไมครอน, และมากกว่า 14 ไมครอน
  2. ระบบ ISO จะทำการนับจำนวนอนุภาคแต่ละช่วง  จากน้ำมันตัวอย่าง 1 มิลลิลิตร เพื่อนำไปเปรียบเทียบกับตารางอ้างอิงของ ISO 4406 
  3. ค่าความสะอาดของน้ำมันแสดงด้วยตัวเลขที่ได้จากตารางอ้างอิงของอนุภาคทั้งสามขนาด

ISO 4406 Reference chart
ตัวอย่างเช่น เมื่อทำการนับจำนวนอนุภาค ได้ตามตารางข้างล่างนี้ ค่าความสะอาดของน้ำมัน เป็น ISO 16/14/11
 
หรือ ISO 18/16/13 หมายถึง
 



More information please contact us www.nederman.co.th
Sale dept.
Tel       033-674 600 # 4651
Mobile   083-9881563
FB :      www.facebook.com/จำหน่ายระบบบำบัดอากาศฝุ่น - ควันในโรงงาน
TW:      NedermanTH
Google+ : NedermanTH





  Share

วันอาทิตย์ที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2558


อันตรายจากการสูดดมกลิ่นไอน้ำมัน


การได้รับสารพิษจากการสัมผัสและการสูดดมจากการทำงานอาจทำให้เกิดปัญหาทางสุขภาพเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจและระบบอื่นๆของร่างกายจนอาจนำไปสู่การเสียชีวิตหากผู้ป่ายไม่ได้รับการรักษาได้อย่างทันท่วงที  สารพิษดังกล่าวอาจเกิดจากโรงงานอุตสาหกรรม พื้นที่เกษตรกรรม หรือแม้แต่ในบ้านของเราเอง สารพิษที่สูดดมเข้าไปจะมีลักษณะเป็นก๊าซและละอองลอย (Aerosol) ระดับความรุนแรงของอาการเจ็บป่วยจะขึ้นอยู่กับความเข้มข้นของสาร ระยะเวลาที่ร่างกายได้รับสาร ขนาดของอนุภาคสารพิษ และสภาวะร่างกายของผู้ได้รับสาร การสูดดมสารพิษเกิดขึ้นได้หลายลักษณะเช่น การรั่วไหลของสารเคมี ควันจากการเกิดไฟไหม้ และการเกิดปฏิกิริยาทางเคมีจากการปฏิบัติงานที่ไม่เหมาะสมและไม่มีมาตรการป้องกัน การเจ็บป่วยจากการสูดดมสารพิษ สามารถแบ่งได้เป็นประเภทดังนี้


1.สารพิษที่มีพิษระคายเคือง  คือสารพิษที่ทำให้เกิดการอักเสบและบวมของเยื่อบุทางเดินหายใจ เช่นเกิดภาวะหายใจขัด ไอ แสบระคายเคืองตา หลอดลมหดเกร็ง ภาวะปอดบวมน้ำจนทำให้การแลกเปลี่ยนออกซิเจนผิดปรกติ สารพิษที่ทำให้เกิดภาวะดังกล่าว ได้แก่ ไฮโดนเจรฟลูออไรด์ แอมโมเนีย ไนโตรเจนไดออกไซด์
2.สารพิษที่ทำให้ร่างกายเกิดภาวะขาดอ๊อกซิเจน คือก๊าซที่ทำให้เนื้อเยื่อเกิดภาวะขาดออกซิเจน ส่งผลให้ระบบประสาทและหัวใจทำงานผิดปรกติ สารพิษดังกล่าวได้แก่ ไซยาไนด์ ซึ่งพบในอุตสาหกรรมพลาสติกและการเผาไหม้ของโพลียูรีเทน ไฮโดรเจนซัลไฟด์
3.สารพิษที่ถูกดูดซึมทางการหายใจและทำให้ร่างกายส่วนอื่นได้รับผลกระทบ ซึ่งมักเป็นสารพิษที่เกี่ยวข้องกับการประกอบอาชีพ เช่น เมธิลโบรไมด์ ฝุ่นโพลีเมอร์ PTFE และอาร์ไซน์ สารเหล่านี้จะสะสมในร่างกาย จนก่อให้เกิดอาการอ่อนเพลีย คลื่นไส้ อาเจียน เกิดภาวะเม็ดเลือดแดงแตก ปอดอักเสบ และไตวาย จนถึงแก่ชีวิตในที่สุด
4.ควันจากไฟไหม้  ในการเกิดไฟไหม้แต่ละครั้ง อาจเกิดปฏิกิริยาสันดาปขึ้นจนทำให้ควันไฟมีการเจือปนของสารพิษต่างๆที่ออกฤทธ์ระคายเคืองทางเดินหายใจและหมดสติ
การสูดดมสารพิษจากการประกอบอาชีพและการดำเนินชีวิตประจำวันเป็นสิ่งสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม เพราะเป็นสิ่งที่อาจเกิดขึ้นได้โดยไม่คาดฝัน ไม่จำกัดเวลาและสถานที่ การสูดดมสารพิษอาจเกี่ยวข้องกับสารพิษหลายชนิดซึ่งมีลักษณะแตกต่างกัน การป้องกัยและเคร่งครัดในหลักความปลอดภัยจะช่วยลดความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นได้ในอนาคต.



More information please contact us www.nederman.co.th
Sale dept.
Tel       033-674 600 # 4651
Mobile   083-9881563
FB :      www.facebook.com/จำหน่ายระบบบำบัดอากาศฝุ่น - ควันในโรงงาน
TW:      NedermanTH
Google+ : NedermanTH


วันพฤหัสบดีที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2558

อันตรายจากการสูดดมกลิ่นไอน้ำมัน

                การได้รับสารพิษจากการสัมผัสและการสูดดมจากการทำงานอาจทำให้เกิดปัญหาทางสุขภาพเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจและระบบอื่นๆของร่างกายจนอาจนำไปสู่การเสียชีวิตหากผู้ป่ายไม่ได้รับการรักษาได้อย่างทันท่วงที  สารพิษดังกล่าวอาจเกิดจากโรงงานอุตสาหกรรม พื้นที่เกษตรกรรม หรือแม้แต่ในบ้านของเราเอง สารพิษที่สูดดมเข้าไปจะมีลักษณะเป็นก๊าซและละอองลอย (Aerosol) ระดับความรุนแรงของอาการเจ็บป่วยจะขึ้นอยู่กับความเข้มข้นของสาร ระยะเวลาที่ร่างกายได้รับสาร ขนาดของอนุภาคสารพิษ และสภาวะร่างกายของผู้ได้รับสาร การสูดดมสารพิษเกิดขึ้นได้หลายลักษณะเช่น การรั่วไหลของสารเคมี ควันจากการเกิดไฟไหม้ และการเกิดปฏิกิริยาทางเคมีจากการปฏิบัติงานที่ไม่เหมาะสมและไม่มีมาตรการป้องกัน การเจ็บป่วยจากการสูดดมสารพิษ สามารถแบ่งได้เป็นประเภทดังนี้

1.สารพิษที่มีพิษระคายเคือง  คือสารพิษที่ทำให้เกิดการอักเสบและบวมของเยื่อบุทางเดินหายใจ เช่นเกิดภาวะหายใจขัด ไอ แสบระคายเคืองตา หลอดลมหดเกร็ง ภาวะปอดบวมน้ำจนทำให้การแลกเปลี่ยนออกซิเจนผิดปรกติ สารพิษที่ทำให้เกิดภาวะดังกล่าว ได้แก่ ไฮโดนเจรฟลูออไรด์ แอมโมเนีย ไนโตรเจนไดออกไซด์

2.สารพิษที่ทำให้ร่างกายเกิดภาวะขาดอ๊อกซิเจน คือก๊าซที่ทำให้เนื้อเยื่อเกิดภาวะขาดออกซิเจน ส่งผลให้ระบบประสาทและหัวใจทำงานผิดปรกติ สารพิษดังกล่าวได้แก่ ไซยาไนด์ ซึ่งพบในอุตสาหกรรมพลาสติกและการเผาไหม้ของโพลียูรีเทน ไฮโดรเจนซัลไฟด์

3.สารพิษที่ถูกดูดซึมทางการหายใจและทำให้ร่างกายส่วนอื่นได้รับผลกระทบ ซึ่งมักเป็นสารพิษที่เกี่ยวข้องกับการประกอบอาชีพ เช่น เมธิลโบรไมด์ ฝุ่นโพลีเมอร์ PTFE และอาร์ไซน์ สารเหล่านี้จะสะสมในร่างกาย จนก่อให้เกิดอาการอ่อนเพลีย คลื่นไส้ อาเจียน เกิดภาวะเม็ดเลือดแดงแตก ปอดอักเสบ และไตวาย จนถึงแก่ชีวิตในที่สุด

4.ควันจากไฟไหม้  ในการเกิดไฟไหม้แต่ละครั้ง อาจเกิดปฏิกิริยาสันดาปขึ้นจนทำให้ควันไฟมีการเจือปนของสารพิษต่างๆที่ออกฤทธ์ระคายเคืองทางเดินหายใจและหมดสติ

การสูดดมสารพิษจากการประกอบอาชีพและการดำเนินชีวิตประจำวันเป็นสิ่งสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม เพราะเป็นสิ่งที่อาจเกิดขึ้นได้โดยไม่คาดฝัน ไม่จำกัดเวลาและสถานที่ การสูดดมสารพิษอาจเกี่ยวข้องกับสารพิษหลายชนิดซึ่งมีลักษณะแตกต่างกัน การป้องกัยและเคร่งครัดในหลักความปลอดภัยจะช่วยลดความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นได้ในอนาคต.


More information please contact us www.nederman.co.th
Sale dept.
Tel       033-674 600 # 4651
Mobile   083-9881563
FB :      www.facebook.com/จำหน่ายระบบบำบัดอากาศฝุ่น - ควันในโรงงาน
TW:      NedermanTH
Google+ : NedermanTH






วันอังคารที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2558

พบ "เด็กปั๊ม" เสี่ยงมะเร็ง: รับสาร MTBE ในเบนซินเต็ม ๆ

----------------------------------------------------
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)
นักศึกษา คปก. จาก JGSEE ระบุ ปั๊มน้ำมัน คือบริเวณที่มี MTBE (สารเพิ่มออกเทนที่ใช้แทนตะกั่ว) ปะปนในอากาศ ค่อนข้าง สูง ซึ่งสารชนิดนี้อเมริการะบุว่าอาจเป็นสารก่อมะเร็งในคนได้ แนะเสริมความรู้ "เด็กปั๊ม" ให้อยู่ใกล้หัวจ่ายน้ำมัน โดย เฉพาะ ในขณะทำการ เติมน้ำมัน
MTBE (Methyl tertiary-butyl ether) เป็นสารเพิ่มออกเทนน้ำมันเบนซิน-91 และ 95 แทนการใช้สารตะกั่ว แต่ ทราบหรือไม่ว่าประเทศอเมริกาได้กำหนดให้ MTBE จัดอยู่ในสารก่อมะเร็งกลุ่ม C เพราะสารที่สามารถเข้าสู่ร่างกายได้ทั้งทางการหายใจและการกินชนิดนี้ สามารถทำให้เกิดการระคายเคืองต่อเยื่อบุผิว มีและผลต่อระบบหายใจในระยะยาว ซึ่งการที่ สัตว์ทดลองได้รับ MTBE ในปริมาณสูงจะมีโอกาสการเกิดมะเร็งมากขึ้น ทั้งมะเร็งต่อมน้ำเหลือง และมะเร็งเม็ดเลือดขาว
สำหรับกรุงเทพมหานครซึ่งมียอดการจำหน่ายน้ำมันเบนซินถึง 1 ใน 3 ของทั้งประเทศนั้น การใช้ MTBE ผสมในน้ำมันเบนซินมานานกว่า 10 ปี จะมีผลอย่างไรต่อคนกรุงเทพฯบ้าง และคนกลุ่มใด เสี่ยงที่จะได้อันตรายจาก MTBE มากที่สุด
นางสาวเจริญศรี กี้ประเสริฐทรัพย์ นักศึกษาปริญญาเอกกาญจนาภิเษก (คปก.) จากบัณฑิตวิทยาลัยร่วมด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม (JGSEE) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี กล่าวว่า สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง คลังน้ำมันเชื้อเพลิง อู่ซ่อมรถ พื้นที่จราจร แนวท่อส่งน้ำมัน และบริเวณที่มีการรั่วไหลของน้ำมัน คือแหล่งปล่อยสาร MTBE สู่สิ่งแวดล้อมที่สำคัญ โดยสาร MTBE สามารถปนเปื้อนในอากาศได้จากการระเหยและการเผาไหม้เชื้อเพลิงที่มี MTBE ผสมอยู่ รวมถึงสู่ลงสู่แหล่งน้ำทั้งบนดินหรือใต้ดินพร้อมกับน้ำฝนที่ชะล้าง MTBE ในบรรยากาศลงมา หรือจากการการรั่วไหลของน้ำมันเบนซินลงสู่แหล่งน้ำโดยตรง เช่น การรั่วไหลจากถังกักเก็บน้ำมันใต้ดินตามปั๊มต่าง ๆ หรือจากท่อขนส่งน้ำมัน ที่จะแพร่กระจายลงสู่แหล่งน้ำใต้ดิน
"แม้ว่าดินของ กทม. จะเป็นดินเหนียวที่ทำให้ยังไม่พบ MTBE ปนเปื้อนในแหล่งน้ำใต้ดินเช่นรัฐแคลิฟอร์เนียของอเมริกา แต่กรุงเทพมหานครก็มีการจราจรหนาแน่นมาก หลายพื้นที่จึงอาจมีสาร MTBE ปะปนอยู่ในบรรยากาศได้มาก ทั้งในสถานีบริการจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงที่มีอยู่ 869 แห่ง รวมถึงบนท้องถนนที่จะออกมาพร้อมกับไอเสียจากรถยนต์ที่ใช้น้ำมันเบนซิน ดังนั้นกรุงเทพฯจึงมีความเสี่ยงที่จะได้รับ MTBE ที่ปนเปื้อนในบรรยากาศเข้าสู่ร่างกายได้"
ดังนั้น นางสาวเจริญศรี จึงได้ทำวิทยานิพนธ์เรื่อง "การประเมินความเสี่ยงอันตรายจากสาร MTBE ในน้ำมันเบนซิน ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร" เพื่อที่จะศึกษาถึงปริมาณของ MTBE ในบริเวณน่าจะมีสาร MTBE ปริมาณสูงในบรรยากาศคือ "ปั๊มน้ำมัน" และ "บริเวณสี่แยก"
จากการวิเคราะห์ปริมาณการได้รับสาร MTBE ในอากาศ มาประเมินกับโอกาสที่จะได้รับอันตรายจาก MTBE ในกลุ่มคนที่ต้องทำงานหรืออยู่ในพื้นที่ซึ่งมี MTBE ปนเปื้อนในอากาศวันละ 8 และ 12 ชั่วโมง ทั้งบริเวณสถานีบริการจำหน่ายน้ำมัน และบริเวณสี่แยกจราจรนั้น งานวิจัยนี้พบว่าทั้ง "ตำรวจจราจร" และ "พ่อค้าแม่ค้า" ซึ่งปฏิบัติหน้าที่และทำมาหากินอยู่บริเวณสี่แยก มีโอกาสได้รับผลกระทบแบบเฉียบพลันรวมถึงความเสี่ยงต่อโรคภัยในระยะยาวจากการได้รับ MTBE ในบรรยากาศน้อย ขณะที่ "เด็กปั๊ม" ซึ่งต้องทำงานใกล้กับ "หัวจ่ายน้ำมัน" มีความเสี่ยงสูงกว่าทั้งในระยะสั้นและระยะยาว
"แม้ว่าโดยภาพรวมแล้วความเสี่ยงของเด็กปั๊มที่จะได้รับผลกระทบจากการรับสาร MTBE เข้าสู่ร่างกายจะมีไม่เกินเกณฑ์มาตรฐาน แต่สำหรับปั๊มน้ำมันที่มียอดการจำหน่ายน้ำมันเบนซินเฉลี่ยสูงกว่า 500 ลิตรต่อชั่วโมงโดยประมาณ ก็จะมีความเสี่ยงสูงขึ้นอย่างเห็นได้ชัด และเมื่อรวมกับการได้รับสารเคมีชนิดอื่น ๆ ในน้ำมัน เช่น เบนซีน ทอลูอีน เมธิลเบนซีน ฯลฯ เข้าไปด้วยแล้ว ความเสี่ยงที่พนักงานเติมน้ำมันจะมีอาการผิดปกติทั้งแบบเฉียบพลันและในระยะยาวจากพิษของ MTBE รวมถึงสารเคมีอื่น ๆ ก็ยิ่งมีมากขึ้นกว่าเดิม ส่วนในปั๊มที่มียอดขายเฉลี่ยไม่มากนักนั้น หากสภาพพื้นที่มีลักษณะปิด เช่น มีรถใหญ่เข้าไปเติมน้ำมันจำนวนมาก หรือล้อมรอบด้วยอาคารสูง ซึ่งมีการระบายอากาศไม่ดี เด็กปั๊มก็มีโอกาสได้รับ MTBE ในปริมาณสูงเช่นกัน"
"การติดตั้งหัวจ่ายน้ำมันแบบมีระบบดูดไอน้ำมันกลับ" (Recovering System) ที่เคยมีการทดลองใช้ในปั๊มน้ำมันบางแห่งเมื่อหลายปีก่อนเพื่อลดการสูญเสียน้ำมันไปในอากาศขณะเติมน้ำมัน ซึ่งสามารถช่วยทำให้ MTBE ไม่ระเหยออกมาด้วยนั้น แม้จะเป็นคำตอบเดียวที่จะช่วยเด็กปั๊มจากการรับสาร MTBE และสารอื่น ๆ ในน้ำมันเข้าสู่ร่างกาย แต่ในทางปฏิบัติคงเป็นไปได้ยากเนื่องจาก ทั้งจากการลงทุนที่ค่อนข้างสูง ขั้นตอนการเติมที่ยุ่งยากกว่าเดิม แต่ที่สำคัญคือความไม่รู้
"จริง ๆ แล้วหนึ่งในทางป้องกันอย่างง่าย ๆ ก็คือ เมื่อเริ่มปล่อยน้ำมันใส่ช่องเติมในรถแต่ละคันแล้ว ให้รีบออกมาห่างจากจุดนั้น และเข้าไปอีกครั้งเมื่อเติมเสร็จ เพราะระหว่างบริเวณหัวจ่ายที่มีการระเหยกับจุดที่ห่างออกมาเพียงไม่กี่เมตรนั้น ความเข้มข้นของ MTBE ในอากาศก็ต่างกันมากพอสมควร แต่จากการคุยกับเด็กปั๊ม รวมถึงเจ้าของปั๊ม หลายๆ แห่ง พบว่าเขาเหล่านั้นไม่รู้ถึงพิษภัยและการป้องกันตัวจากสารเหล่านี้เลย" นางสาวเจริญศรี กล่าวสรุป
ดังนั้น ทางออกที่เป็นไปได้ ซึ่งงานวิจัยชิ้นนี้เสนอไว้ก็คือ คือ ควรพิจารณากำหนดให้สถานีบริการจำหน่ายน้ำมันที่มียอดการจำหน่ายสูง ต้องติดตั้งระบบดูดไอน้ำมันกลับ (Recovering System) และควบคุมให้สามารถใช้งานได้ตลอดเวลา รวมทั้งการให้ความรู้ในการปฏิบัติตัวเพื่อลดการได้รับสารระเหยจากน้ำมันเช่น ไม่ควรอยู่ใกล้บริเวณหัวจ่ายขณะทำการเติมน้ำมัน สำหรับในพื้นที่การจราจร การจราจรที่คล่องตัวจะสามารถช่วยลดปริมาณสารระเหยจากยานพาหนะได้มาก
ลักษณะและคุณสมบัติของสาร MTBE
MTBE เป็นสารประกอบอินทรีย์ระเหย ได้จากการทำปฏิกิริยาระหว่างสาร isobutene กับ methanol มีลักษณะและสมบัติทางกายภาพและเคมีดังนี้ : เป็นสารระเหย มีคุณสมบัติจุดไฟติด สามารถละลายได้ทั้งในน้ำมันเบนซิน ในแอลกอฮอล์ ในอีเทอร์ และในน้ำ เป็นของเหลวใส ไม่มีสี มีกลิ่นคล้ายสาร terpene [1, 2, 3, 4]
--------------
อันตรายและความเป็นพิษของสาร MTBE
สาร MTBE สามารถเข้าสู่ร่างกายได้ทั้งจากการกินและการหายใจ ถึงแม้ว่ายังไม่มีรายงานเกี่ยวกับอันตรายถึงชีวิตจากการสูดดมสาร MTBE แต่พบว่าสาร MTBE มีอันตรายต่อสุขภาพทั้งในระยะสั้นและระยะยาว คือ ทำให้เกิดการระคายเคืองต่อเยื่อบุผิว มีผลต่อระบบประสาท ทำให้เกิดอาการวิงเวียน ปวดศีรษะ และคลื่นไส้อาเจียนได้ในลักษณะพิษเฉียบพลัน สำหรับพิษเรื้อรังที่เกิดจากสาร MTBE คือ มีผลต่อระบบการหายใจในระยะยาว เพิ่มอัตราการเกิดโรคหอบและเพิ่มความรุนแรงของโรคหอบได้ มีผลต่อความแข็งแรงของทารกในครรภ์ เพิ่มความเสี่ยงในการแท้ง หรือการตายของทารกในครรภ์
จากการทดสอบสาร MTBE ด้านพิษวิทยาในสัตว์ทดลองพบว่า สาร MTBE ที่ความเข้มข้น 10,800 mg/m3 ในอากาศ มีผลทำให้น้ำหนักแรกเกิดของหนูลดลง เพิ่มอัตราการแท้งของหนู ก่อให้เกิดเนื้องอกในไตและในอัณฑะของหนูมากขึ้น การรับสาร MTBE ทั้งจากการหายใจและการกิน เพิ่มโอกาสในการเป็นมะเร็ง ทั้งมะเร็งต่อมน้ำเหลือง และมะเร็งเม็ดเลือดขาวในหนูทดลอง แต่ยังไม่มีรายงานพบว่าสาร MTBE ทำให้เกิดเนื้องอกหรือมะเร็งในคน ดังนั้น สำนักงานวิจัยและการพัฒนา (ORD) องค์การพิทักษ์สิ่งแวดล้อม (EPA) จึงพิจารณาให้สาร MTBE เป็นสารก่อมะเร็งในกลุ่ม C คือ เป็นสารที่สามารถก่อให้เกิดมะเร็งในมนุษย์ได้ จากข้อมูลสนับสนุนการเกิดมะเร็งที่พบในสัตว์ทดลองเท่านั้น
ประชาไทรายงาน
More information please contact us www.nederman.co.th
Sale dept.
Tel       033-674 600 # 4651
Mobile   083-9881563
FB :      www.facebook.com/จำหน่ายระบบบำบัดอากาศฝุ่น - ควันในโรงงาน
TW:      NedermanTH
Google+ : NedermanTH


                       สาญารณสุขจังหวัด เตือนสูดดมไอน้ำมันระวัง...มะเร็งปอด


                 นายวิวรรธน์ ก่อวิริยกมล นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดเลย เปิดเผยถึง อันตรายจากน้ำมันทอดซ้ำ โดยชนิดอาหารทอดที่ต้องระวังเป็นพิเศษ คือ อาหารทอดจำพวกเนื้อสัตว์ชุบแป้ง เช่น ปลาทอด ไก่ทอด และปาท่องโก๋ รวมทั้งอาหารที่ทอดโดยน้ำมันจากสัตว์ เช่น น้ำมันหมูด้วย อันตรายจากน้ำมันทอดซ้ำ น้ำมันที่ผ่านการทอดซ้ำหลายๆ ครั้ง จะมีคุณสมบัติที่เสื่อมลงทั้งสี กลิ่น รสชาติเปลี่ยนไป มีความหนืดมากขึ้น ในระหว่างการทอดจะมี "สารโพลาร์” ที่เกิดจากการแตกตัวของน้ำมันเกิดขึ้นมากมาย ซึ่งสารโพลาร์ที่เกิดขึ้นนี้สามารถสะสมในร่างกาย และส่งผลกระทบต่อการทำงานของเซลล์ นอกจากนี้ไอของน้ำมัน หากสูดดมเข้าไปจะทำให้ระคายเคืองตาและลำคอเป็นอันตรายต่อสุขภาพ เกิดความเสี่ยงอาจเป็นมะเร็งปอดได้ อีกทั้งน้ำมันที่ผ่านการทอดซ้ำมีคุณค่าทางโภชนาการลดลง ในสัตว์ทดลองพบว่า การเจริญเติบโตลดลง ตับและไตมีขนาดโตขึ้น มีการสะสมไขมันในตับ และเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดและหัวใจ การเก็บรักษาน้ำมันทอดซ้ำ ๑.เก็บน้ำมันที่ผ่านการทอดอาหารแล้ว ไว้ในภาชนะแสตนเลสหรือแก้วที่ปิดสนิท ไม่เก็บในที่อากาศร้อน ไม่วางใกล้เตาไฟ และเก็บให้พ้นแสง ๒.ห้าม เทน้ำมันร้อนผ่านกรวยพลาสติก หรือใส่ภาชนะที่เป็นพลาสติก เพราะจะทำให้สารเคมีอันตรายในพลาสติกละลายออกมาปะปนในน้ำมัน ๓.ควรทิ้งน้ำมันให้เย็นและกรองเศษอาหารเก่าออกก่อนเก็บ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดเลย กล่าวในที่สุดว่า ขอให้ผู้ประกอบอาหารหรือผู้จำหน่ายอาหารทอด ควรเปลี่ยนน้ำมันทอดอาหารเมื่อน้ำมันเสื่อมสภาพ เช่น มีกลิ่นเหม็น เหนียวข้น สีดำ เกิดฟองควันเหม็นไหม้ ไม่ควรเติมน้ำมันใหม่ลงไปผสม เพราะจะยิ่งทำให้การเสื่อมสลายของไขมันเกิดเร็วขึ้น เนื่องจากเร่งปฏิกิริยาทางเคมี

วันพุธที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2558


เทคโนโลยีที่นิยมนำมาใช้ป้องกันและแก้ไขมลพิษทางอากาศ


    มลพิษทางอากาศเป็นสิ่งที่เกิดจากการการเผาไหม้และฝุ่นละออง โมเลกุลชีวภาพ หรือวัตถุอันตรายในชั้นบรรยากาศของโลก ซึ่งเป็นสาเหตุของโรค การเสียชีวิตในมนุษย์ และทำลายสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ เช่น พืชพันธุ์ สิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ ชั้นบรรยากาศเป็นระบบก๊าซธรรมชาติที่จำเป็นต่อชีวิตบนโลก การลดลงของโอโซนในชั้นบรรยากาศเนื่องจากมลพิษทางอากาศถือว่าเป็นภัยคุกคามต่อสุขภาพของมนุษย์ รวมถึงระบบนิเวศของโลกด้วย

มลพิษทางอากาศภายในอาคาร และคุณภาพของอากาศในเมืองจัดเป็นปัญหามลพิษที่เลวร้ายที่สุด จากรายงานชื่อ สถานที่ที่ประสบมลพิษมากที่สุดในโลก (World's Worst Polluted Places)[1] ของสถาบันแบล็กสมิธ (Blacksmith Institute) ในปี ค.ศ. 2008 ตามรายงานขององค์การอนามัยโลก (WHO) ในปี ค.ศ. 2014 มลพิษทางอากาศคร่าชีวิตคนประมาณ 7 ล้านคนทั่วโลกในปี ค.ศ. 2012[2]

1. จากยานพาหนะ
   ติดตั้งอุปกรณ์เพื่อควบคุมมลพิษจากท่อไอเสียโดยแยกประเภทรถ ดังนี้
    รถยนต์ที่ใช้น้ำมันเบนซินไร้สารตะกั่ว ติดตั้ง Catalytic Converters
    รถยนต์ที่ใช้น้ำมันดีเซล ติดตั้งเครื่องกรองควันดำ
   การป้องกันและลดสารพิษจากยานพาหนะ

   การที่จะป้องกันไม่ให้รถยนต์ของท่านปล่อยสารพิษสู่สิ่งแวดล้อม ผู้เป็นเจ้าของหรือผู้ขับขี่จะต้องหมั่นบำรุงรักษาสภาพของเครื่องยนต์ มีการปรับแต่งเครื่องยนต์ให้อยู่ในสภาพที่ดีอยู่เสมอ รวมถึงลักษณะการขับขี่ ซึ่งมีข้อแนะนำดังนี้
   1. ใช้น้ำมันไร้สารตะกั่วสำหรับรถเครื่องยนต์เบนซิน หรือน้ำมันดีเซลกลั่นอุณหภูมิต่ำสำหรับรถเครื่องยนต์ดีเซล
   2. เปลี่ยนน้ำมันเครื่องตามกำหนดเวลา
   3. หมั่นตรวจดูระบบกรองอากาศ ถ้าอุดตันมีฝุ่นจับมากให้ทำความสะอาดหรือเปลี่ยนใหม่
   4. หลีกเลี่ยงการบรรทุกเกินอัตรากำลังรถ
   5. ควรออกรถให้นิ่มนวลและไม่เร่งเครื่องเกินความจำเป็น
   6. ติดตั้งอุปกรณ์กรองไอเสีย (Catalytic Concerter) เพื่อช่วยให้ไอเสียที่ปล่อยออกมามีมลพิษน้อยลงได้

  สำหรับรถที่ใช้น้ำมันดีเซลควรตรวจสอบเครื่องรถยนต์เป็นพิเศษ ดังนี้

   1. ตรวจสอบกำลังอัดของเครื่องยนต์ ถ้าต่ำกว่าปกติจะต้องซ่อมโดยเปลี่ยนแหวน ลูกสูบ หรือคว้านกระบอกสูบ
   2. ปรับแปรงที่หัวฉีดให้ตรงตามกำหนด และหัวฉีดต้องฉีดน้ำมันเป็นละออง ถ้าหัวฉีดปรับแรงดันไม่ได้ หรือฉีดน้ำมันไม่เป็นละออง ให้เปลี่ยนชุดหัวฉีดใหม่
   3. ตั้งปั๊มหัวฉีดที่มีความเร็วรอบต่าง ๆ ให้จ่ายน้ำมันตามกำหนด ถ้าหากว่าปรับตั้งไม่ได้เนื่องจากลูกปั๊มสึกหรอมาก ให้เปลี่ยนลูกปั๊มแต่ละชุดใหม่

   สำหรับรถที่ใช้น้ำมันเบนซิน ควรตรวจสอบเครื่องยนต์เป็นพิเศษ ดังนี้
   
1. ปรับคาร์บูเรเตอร์ โดยปกติจะปรับสกรูเดินเบาเพิ่มขึ้น แต่สำหรับรถที่ใช้ระบบหัวฉีดน้ำมันอัตโนมัติ จะต้องปรับแต่งโดยช่างผู้ชำนาญงานเท่านั้น
   2. ตรวจสอบกำลังอัดของเครื่องยนต์ และระบบไฟจุดระเบิดอาจแก่เกินไป ควรลดลงให้เหมาะสม

2. จากโรงงานอุตสาหกรรม
   การเลือกใช้อุปกรณ์สำหรับกำจัดสารมลพิษนั้นขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง ได้แก่ ประสิทธิภาพที่ต้องการในการกำจัด คุณสมบัติของสารมลพิษ เช่น อุณหภูมิ ความชื้น การละลาย ขนาดของอนุภาค ความเข้มข้น ปริมาณของสารมลพิษ และลักษณะของกระบวนการผลิต ดังนั้นจึงสามารถแยกอุปกรณ์กำจัดสารมลพิษ ที่เหมาะสมกับลักษณะปัญหา ดังนี้

   1. ห้องดักฝุ่น (Setting chamber) เป็นห้องหรือภาชนะขนาดใหญ่ ฝุ่นที่เคลื่อนผ่านจะตกลงยังพื้นห้องด้วยน้ำหนักของมันเอง จึงเหมาะสมกับฝุ่นหยาบ ๆ ขนาดใหญ่ หรือฝุ่นที่มีน้ำหนักมาก ระบบนี้ส่วนใหญ่เป็นระบบกำจัดขั้นต้น (Primary treatment) ก่อนจะผ่านไปยังระบบที่มีประสิทธิภาพสูงกว่า
   
2. ไซโคลน (Cyclone) เป็นอุปกรณ์ดักฝุ่นโดยอาศัยหลักการของแรงหนีศูนย์กลางไซโคลนแบบธรรมดาใช้ดักฝุ่นขนาด 50 ไมครอน (0.05 มม.) ขึ้นไปได้ดี ไซโคลนชนิดประสิทธิภาพสูง (High efficiency cyclone) ใช้ดักฝุ่นขนาดเล็กประมาณ 10 ไมครอน ขึ้นไปได้ดี ตัวอย่างโรงงานที่ใช้ไซโคลนในการดักฝุ่นละออง เช่น โรงเลื่อยไม้ โรงงานผสมอาหารสัตว์ ไซโล ขี้เถ้าแกลบ และฝุ่นละอองจากการขัดโลหะ เป็นต้น
   
3. ระบบผ้ากรอง (Bag filter) เป็นระบบขจัดฝุ่นละอองขนาดเล็กละเอียดโดยอาศัยการกรองด้วยถุงผ้า ถุงผ้าอาจทำด้วยผ้าฝ้ายหรือใยสังเคราะห์ซึ่งทอพิเศษ ระบบนี้ใช้ดักฝุ่นละอองจากการผสมเคมีและยาง ฝุ่นจากการขัดไม้และโลหะ ฝุ่นจากการหลอมตะกั่ว ฝุ่นจากการหลอมโลหะ ในกรณีต้องการประสิทธิภาพในการขจัดสูง ฝุ่นซีเมนต์ ฝุ่นจากการพ่นยิงทราย ฝุ่นละอองจากการผสม หรือบดวัตถุดิบชนิดผงที่ต้องการประสิทธิภาพในการเก็บสูง เป็นต้น
  
 4. ระบบดักฝุ่นโดยอาศัยประจุไฟฟ้า (Electrostatic precipitator) ระบบนี้ใช้ดักฝุ่นละเอียดเช่นเดียวกับ Bag filter เหมาะสำหรับโรงงานขนาดใหญ่ เช่น โรงงานปูนซีเมนต์ โรงงานถลุงเหล็ก เป็นต้น ระบบนี้ต้องนำเข้าจากต่างประเทศ
  
 5. ระบบสเปรย์น้ำ (Spray chamber) เป็นระบบขจัดฝุ่นละออง หรือก๊าซที่มีประสิทธิภาพต่ำสำหรับดักฝุ่นขนาดใหญ่ เช่น ขี้เถ้าแกลบ และฝุ่นละอองจากการหลอมโลหะ ในกรณีที่ตั้งอยู่ห่างไกลชุมชน

  6. ระบบดักบนผิวตัวกลาง (Packed scrubber) เป็นระบบขจัดมลสารที่เป็นก๊าซ หรือขจัดฝุ่นละอองขนาดเล็กปานกลาง ใช้กับลักษณะงานทั่วไป เช่น ระบบขจัดไอกรดจากการชุบโลหะ ระบบขจัดไอสารเคมี ในกรณีที่ไอสารนั้น ๆ สามารถถูกดูดซับหรือละลายในของเหลวที่ใช้ฉีดเป็นตัวกลางดูดซับในระบบได้ ระบบขจัดฝุ่นละอองและไอสารเคมีจากการหลอมโลหะ และระบบขจัดกลิ่นจากโรงงานปลาป่น เป็นต้น

  7. ระบบฉีดดักแบบเวนจูรี (Venturi scrubber)

      - มีหลักการทำงานโดยให้ปริมาณอากาศเสีย (Wastegae) ไหลผ่านตัวระบบที่เป็นช่องแคบ (Venturi tube) ด้วยความเร็วสูงมาก ๆ (15,000-20,000 fpm) ในขณะที่ใช้ของเหลวฉีดเพื่อชะหรือดูดซับทันทีในช่วงเวลาน้อยมาก

      - ประสิทธิภาพในการขจัดมลสารอยู่ในเกณฑ์ระบบที่มีประสิทธิภาพสูง (ในการขจัดมลสารชนิดก๊าซหรือฝุ่นละอองขนาดเล็กมาก ๆ)


More information please contact us www.nederman.co.th
Sale dept.
Tel       033-674 600 # 4651
Mobile   083-9881563
FB :      www.facebook.com/จำหน่ายระบบบำบัดอากาศฝุ่น - ควันในโรงงาน
TW:      NedermanTH
Google+ : NedermanTH