เทคโนโลยีที่นิยมนำมาใช้ป้องกันและแก้ไขมลพิษทางอากาศ
มลพิษทางอากาศเป็นสิ่งที่เกิดจากการการเผาไหม้และฝุ่นละออง
โมเลกุลชีวภาพ หรือวัตถุอันตรายในชั้นบรรยากาศของโลก ซึ่งเป็นสาเหตุของโรค
การเสียชีวิตในมนุษย์ และทำลายสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ เช่น พืชพันธุ์ สิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ
ชั้นบรรยากาศเป็นระบบก๊าซธรรมชาติที่จำเป็นต่อชีวิตบนโลก การลดลงของโอโซนในชั้นบรรยากาศเนื่องจากมลพิษทางอากาศถือว่าเป็นภัยคุกคามต่อสุขภาพของมนุษย์
รวมถึงระบบนิเวศของโลกด้วย
มลพิษทางอากาศภายในอาคาร และคุณภาพของอากาศในเมืองจัดเป็นปัญหามลพิษที่เลวร้ายที่สุด
จากรายงานชื่อ สถานที่ที่ประสบมลพิษมากที่สุดในโลก (World's Worst Polluted Places)[1]
ของสถาบันแบล็กสมิธ (Blacksmith Institute) ในปี ค.ศ. 2008
ตามรายงานขององค์การอนามัยโลก (WHO) ในปี ค.ศ. 2014
มลพิษทางอากาศคร่าชีวิตคนประมาณ 7 ล้านคนทั่วโลกในปี ค.ศ. 2012[2]
1. จากยานพาหนะ
ติดตั้งอุปกรณ์เพื่อควบคุมมลพิษจากท่อไอเสียโดยแยกประเภทรถ ดังนี้
รถยนต์ที่ใช้น้ำมันเบนซินไร้สารตะกั่ว ติดตั้ง Catalytic Converters
รถยนต์ที่ใช้น้ำมันดีเซล ติดตั้งเครื่องกรองควันดำ
การป้องกันและลดสารพิษจากยานพาหนะ
การที่จะป้องกันไม่ให้รถยนต์ของท่านปล่อยสารพิษสู่สิ่งแวดล้อม
ผู้เป็นเจ้าของหรือผู้ขับขี่จะต้องหมั่นบำรุงรักษาสภาพของเครื่องยนต์
มีการปรับแต่งเครื่องยนต์ให้อยู่ในสภาพที่ดีอยู่เสมอ รวมถึงลักษณะการขับขี่
ซึ่งมีข้อแนะนำดังนี้
1. ใช้น้ำมันไร้สารตะกั่วสำหรับรถเครื่องยนต์เบนซิน
หรือน้ำมันดีเซลกลั่นอุณหภูมิต่ำสำหรับรถเครื่องยนต์ดีเซล
2. เปลี่ยนน้ำมันเครื่องตามกำหนดเวลา
3. หมั่นตรวจดูระบบกรองอากาศ ถ้าอุดตันมีฝุ่นจับมากให้ทำความสะอาดหรือเปลี่ยนใหม่
4. หลีกเลี่ยงการบรรทุกเกินอัตรากำลังรถ
5. ควรออกรถให้นิ่มนวลและไม่เร่งเครื่องเกินความจำเป็น
6. ติดตั้งอุปกรณ์กรองไอเสีย (Catalytic Concerter) เพื่อช่วยให้ไอเสียที่ปล่อยออกมามีมลพิษน้อยลงได้
สำหรับรถที่ใช้น้ำมันดีเซลควรตรวจสอบเครื่องรถยนต์เป็นพิเศษ ดังนี้
1. ตรวจสอบกำลังอัดของเครื่องยนต์ ถ้าต่ำกว่าปกติจะต้องซ่อมโดยเปลี่ยนแหวน
ลูกสูบ หรือคว้านกระบอกสูบ
2. ปรับแปรงที่หัวฉีดให้ตรงตามกำหนด และหัวฉีดต้องฉีดน้ำมันเป็นละออง
ถ้าหัวฉีดปรับแรงดันไม่ได้ หรือฉีดน้ำมันไม่เป็นละออง ให้เปลี่ยนชุดหัวฉีดใหม่
3. ตั้งปั๊มหัวฉีดที่มีความเร็วรอบต่าง ๆ ให้จ่ายน้ำมันตามกำหนด
ถ้าหากว่าปรับตั้งไม่ได้เนื่องจากลูกปั๊มสึกหรอมาก ให้เปลี่ยนลูกปั๊มแต่ละชุดใหม่
สำหรับรถที่ใช้น้ำมันเบนซิน ควรตรวจสอบเครื่องยนต์เป็นพิเศษ ดังนี้
1. ปรับคาร์บูเรเตอร์ โดยปกติจะปรับสกรูเดินเบาเพิ่มขึ้น
แต่สำหรับรถที่ใช้ระบบหัวฉีดน้ำมันอัตโนมัติ
จะต้องปรับแต่งโดยช่างผู้ชำนาญงานเท่านั้น
2. ตรวจสอบกำลังอัดของเครื่องยนต์ และระบบไฟจุดระเบิดอาจแก่เกินไป
ควรลดลงให้เหมาะสม
2. จากโรงงานอุตสาหกรรม
การเลือกใช้อุปกรณ์สำหรับกำจัดสารมลพิษนั้นขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง
ได้แก่ ประสิทธิภาพที่ต้องการในการกำจัด คุณสมบัติของสารมลพิษ เช่น อุณหภูมิ
ความชื้น การละลาย ขนาดของอนุภาค ความเข้มข้น ปริมาณของสารมลพิษ
และลักษณะของกระบวนการผลิต ดังนั้นจึงสามารถแยกอุปกรณ์กำจัดสารมลพิษ ที่เหมาะสมกับลักษณะปัญหา
ดังนี้
1. ห้องดักฝุ่น (Setting chamber) เป็นห้องหรือภาชนะขนาดใหญ่
ฝุ่นที่เคลื่อนผ่านจะตกลงยังพื้นห้องด้วยน้ำหนักของมันเอง จึงเหมาะสมกับฝุ่นหยาบ ๆ
ขนาดใหญ่ หรือฝุ่นที่มีน้ำหนักมาก ระบบนี้ส่วนใหญ่เป็นระบบกำจัดขั้นต้น (Primary
treatment) ก่อนจะผ่านไปยังระบบที่มีประสิทธิภาพสูงกว่า
2. ไซโคลน (Cyclone) เป็นอุปกรณ์ดักฝุ่นโดยอาศัยหลักการของแรงหนีศูนย์กลางไซโคลนแบบธรรมดาใช้ดักฝุ่นขนาด
50 ไมครอน (0.05 มม.) ขึ้นไปได้ดี
ไซโคลนชนิดประสิทธิภาพสูง (High efficiency cyclone) ใช้ดักฝุ่นขนาดเล็กประมาณ
10 ไมครอน ขึ้นไปได้ดี
ตัวอย่างโรงงานที่ใช้ไซโคลนในการดักฝุ่นละออง เช่น โรงเลื่อยไม้
โรงงานผสมอาหารสัตว์ ไซโล ขี้เถ้าแกลบ และฝุ่นละอองจากการขัดโลหะ เป็นต้น
3. ระบบผ้ากรอง (Bag filter) เป็นระบบขจัดฝุ่นละอองขนาดเล็กละเอียดโดยอาศัยการกรองด้วยถุงผ้า
ถุงผ้าอาจทำด้วยผ้าฝ้ายหรือใยสังเคราะห์ซึ่งทอพิเศษ
ระบบนี้ใช้ดักฝุ่นละอองจากการผสมเคมีและยาง ฝุ่นจากการขัดไม้และโลหะ
ฝุ่นจากการหลอมตะกั่ว ฝุ่นจากการหลอมโลหะ ในกรณีต้องการประสิทธิภาพในการขจัดสูง
ฝุ่นซีเมนต์ ฝุ่นจากการพ่นยิงทราย ฝุ่นละอองจากการผสม หรือบดวัตถุดิบชนิดผงที่ต้องการประสิทธิภาพในการเก็บสูง
เป็นต้น
4. ระบบดักฝุ่นโดยอาศัยประจุไฟฟ้า (Electrostatic precipitator) ระบบนี้ใช้ดักฝุ่นละเอียดเช่นเดียวกับ Bag filter เหมาะสำหรับโรงงานขนาดใหญ่
เช่น โรงงานปูนซีเมนต์ โรงงานถลุงเหล็ก เป็นต้น ระบบนี้ต้องนำเข้าจากต่างประเทศ
5. ระบบสเปรย์น้ำ (Spray chamber) เป็นระบบขจัดฝุ่นละออง
หรือก๊าซที่มีประสิทธิภาพต่ำสำหรับดักฝุ่นขนาดใหญ่ เช่น ขี้เถ้าแกลบ
และฝุ่นละอองจากการหลอมโลหะ ในกรณีที่ตั้งอยู่ห่างไกลชุมชน
6. ระบบดักบนผิวตัวกลาง (Packed scrubber) เป็นระบบขจัดมลสารที่เป็นก๊าซ
หรือขจัดฝุ่นละอองขนาดเล็กปานกลาง ใช้กับลักษณะงานทั่วไป เช่น
ระบบขจัดไอกรดจากการชุบโลหะ ระบบขจัดไอสารเคมี ในกรณีที่ไอสารนั้น ๆ
สามารถถูกดูดซับหรือละลายในของเหลวที่ใช้ฉีดเป็นตัวกลางดูดซับในระบบได้
ระบบขจัดฝุ่นละอองและไอสารเคมีจากการหลอมโลหะ และระบบขจัดกลิ่นจากโรงงานปลาป่น
เป็นต้น
7. ระบบฉีดดักแบบเวนจูรี (Venturi scrubber)
- มีหลักการทำงานโดยให้ปริมาณอากาศเสีย (Wastegae) ไหลผ่านตัวระบบที่เป็นช่องแคบ
(Venturi tube) ด้วยความเร็วสูงมาก ๆ (15,000-20,000
fpm) ในขณะที่ใช้ของเหลวฉีดเพื่อชะหรือดูดซับทันทีในช่วงเวลาน้อยมาก
- ประสิทธิภาพในการขจัดมลสารอยู่ในเกณฑ์ระบบที่มีประสิทธิภาพสูง
(ในการขจัดมลสารชนิดก๊าซหรือฝุ่นละอองขนาดเล็กมาก ๆ)
Sale
dept.
Tel 033-674 600 # 4651
Mobile 083-9881563
TW: NedermanTH
Google+
: NedermanTH
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น